ยินดีต้อนรับสู่ onetomany ครับ ครั้งนี้ผมมีเกจวัดแรงดันน่าซื้อมาแนะนำทุกท่าน เนื้อหาครั้งนี้นี้เกี่ยวกับเพรสเชอร์เกจยี่ห้อ OCTA หลายรุ่นมาให้ทุกคนได้ชมกัน ใครที่ยังไม่รู้จักอุปกรณ์ตัวนี้ผมแนะนำอ่านเรื่อง Pressure Gauge | เกจวัดแรงดันคู่กายช่างมืออาชีพ เพื่อทำความรู้จักกันก่อน
โดยในบทความนี้ผมจะแนะนำ 6 อันดับ เกจวัดแรงดัน ที่คนไทยนิยมใช้งานจากนั้นพาไปดูการใช้งานและราคาเกจวัดแรงดันแต่ละรุ่น ทั้งยังมีข้อดี-ข้อเสียแต่ละรุ่นพร้อมกับราคาให้คุณได้พิจารณา และสุดท้ายแนะนำขั้นตอนการเลือกเกจวัดแรงดัน ที่เหมาะกับคุณรับรองได้ว่าเนื้อหาบทความนี้จัดเต็มครบถ้วนแน่นอนครับ
จุดเด่นของเกจวัดแรงดัน OCTA
OCTA เป็นแบรนด์คนไทยที่นำเข้าเกจวัดแรงดันมาจากประเทศไต้หวัน โดยทำตลาดสินค้าชนิดนี้มานานกว่า 10 ปี โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศ จึงทำให้มั่นใจได้เลยว่าเพรสเชอร์เกจจากแบรนด์ OCTA มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก และเขายังรับประกัน 1 ปีให้กับสินค้าทำให้คุณสามารถติดต่อผู้ขายได้ทันทีเพราะเป็นตัวแทนขายโดยตรงในไทย พร้อมให้คำปรึกษาจากผู้เชียวชาญด้านเครื่องมือวัดที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานเช่นเดียวกัน
วิธีการเลือกเกจวัดแรงดัน
สำหรับวิธีการเลือกเกจวัดแรงดันนั้นไม่ยากเลยครับ โดยเราทำการเลือกตามลำดับความสำคัญตั้งแต่ Pressure Range, Dial Size, Material, Optional และสุดท้ายคือราคานั่นเองครับ
ขั้นตอนที่ 1 เลือกเกจวัดแรงดันจากย่านการวัด(Pressure Range)
ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือการเลือกย่านการวัดหรือภาษาอังกฤษคือ Pressure Range โดยจะเริ่มตั้งแต่แรงดันสูญญากาศ(Vacuum) คือ -1 bar ไปจนถึงแรงดันทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่จะจบที่ 1000 bar ครับ ทั้งนี้ควรเลือกหน่วยแรงดัน(Unit measurement) ตามความถนัดของผู้ใช้ ซึ่งย่านการวัดที่นิยมใช้กันก็จะมี bar, psi และ kg/cm2 ครับ
ขั้นตอนที่ 2 เลือกเกจวัดแรงดันจากขนาดหน้าปัด(Dial Size)
ขนาดหน้าปัด(Dial Size) จะมีผลในการอ่านค่าแรงดันที่ออกมาครับ เพราะขนาดที่ใหญ่กว่าจะทำให้การอ่านค่าแม่นยำและรวดเร็วกว่านั่นเอง แต่ก็แลกมาด้วยราคาที่สูงขึ้น ซึ่งขนาดของเกจวัดแรงดันที่พบได้ทั่วไปจะมีขนาด 1.5″, 2.5″, 3″, 4″, 6″ และ 10″ ครับ
ขั้นตอนที่ 3 เลือกเกจวัดแรงดันจากวัสดุ(Material)
การเลือกวัสดุ(Material) ของเกจวัดแรงดันสำคัญในเรื่องของความสะอาดและการต้านทานการกัดกร่อน ซึ่งแต่ละวัสดุจะเหมาะกับการใช้งานต่างกัน โดยเกจทองเหลือง นิยมใช้วัดแรงดัน น้ำ, ลม หรือแรงดันไฮดรอลิคทั่วไป เพราะไม่สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ ส่วนเกจสแตนเลส นิยมใช้วัดแรงดันในระบบอาหาร, เครื่องดื่ม และสารเคมี นั่นเองครับ
ขั้นตอนที่ 4 เลือกเกจวัดแรงดันจากออฟชั่นเสริม(Optional)
การเลือกออฟชั่น(Option)เสริมของเกจวัดแรงดัน ก็คือส่วนเสริมเพิ่มเติมของเกจที่สามารถทำได้ครับ อย่างเช่น สามารถเติมน้ำมันได้, แสดงผลเป็นดิจิตอล หรือ สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้า ไปยังอุปกรณ์ควบคุมได้นั่นเอง ซึ่งการที่มีออฟชั่นตรงนี้ก็จะส่งผลต่อรุ่นของเกจวัดครับ
ขั้นตอนที่ 5 เลือกเกจวัดแรงดันจากราคา(Price)
ขั้นตอนสุดท้ายคือการเลือกราคาของเกจวัดแรงดัน ซึ่งราคาที่ต่างกันเกิดจากการใช้งานที่แตกต่างกัน ยิ่งมีการใช้งานเฉพาะมากเท่าไร ราคาก็จะเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่หากเปรียบเทียบกับ ยี่ห้อ Nuovafima, WIKA, WEKSLER แล้ว เกจวัดแรงดัน OCTA ถือว่ามีราคาอยู่ในระดับกลาง ๆ ที่มีคุณภาพคุ้มค่ากับราคามาก ๆ ครับ
6 อันดับ เกจวัดแรงดัน ยี่ห้อ OCTA รุ่นไหนดี แม่นยำ ราคาถูก
6 รุ่นเกจวัดแรงดัน ของยี่ห้อ OCTA ที่ผมได้รวบรวมมาจากทุกแหล่ง ซึ่งแต่ละรุ่นเหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย เราหวังว่าทุกรุ่นที่ได้รวบรวมมาจะสามารถทำให้คุณตัดสินใจเลือกใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยแต่ละรุ่นมีอะไรบ้างตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น GB63 และ GB100
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น GBK63 และ GBK100
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น GS63 และ GS100
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น GSK63
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น GD1010J
- เพรสเชอร์เกจ รุ่น 1713
การใช้งานและราคาเกจวัดแรงดันแต่ละรุ่น
นี่คือรายละเอียดของเกจวัดแรงดันแต่ละรุ่น โดยหากต้องการสั่งซื้อสามารถแอดไลน์ ID : @pakoeng ได้เลย
1. เพรสเชอร์เกจ รุ่น GB63 และ GB100
เกจวัดแรงดันรุ่น GB63และGB100 เป็นเกจอนาล็อกที่เคสทำจากสแตนเลส 316 มีคุณสมบัติกันสนิม ส่วนบูร์ดองและเกลียวทำจากทองเหลือง หน้าปัดขนาด 2.5 นิ้ว และ 4 นิ้ว เป็นเพรสเชอร์เกจที่มีราคาถูกที่สุด
- การใช้งาน: เหมาะใช้วัดแรงดันลม, น้ำ, ไฮดรอลิค
- ข้อดี: ราคาถูก
- ข้อเสีย: ไม่ทนต่อการกัดกร่อน
2. เพรสเชอร์เกจ รุ่น GBK63 และ GBK100
เกจวัดแรงดันรุ่น GBK63 และ GBK100 เป็นอนาล็อกเกจ เคสทำจากสแตนเลส316 บูร์ดองและเกลียวทำจากทองเหลือง หน้าปัด 2.5"และ4" เป็นเพรสเชอร์เกจที่นิยมติดตั้งกับเครื่องจักร มีออฟชั่นเสริมคือสามารถติดปีกได้
- การใช้งาน: เหมาะใช้วัดแรงดันไฮดรอลิค ติดตั้งหน้าเครื่องจักรและควรเติมน้ำมัน
- ข้อดี: ราคาถูก, ติดปีกได้
- ข้อเสีย: ไม่ทนต่อการกัดกร่อน
355 บาท / 1,660 บาท
3. เพรสเชอร์เกจ รุ่น GS63 และ GS100
เกจรุ่น GS63 และ GS100 เป็นรุ่นอัพเกรดที่เปลี่ยนวัสดุของบูร์ดองและเกลียวเป็นสแตนเลส ทำให้มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน ผู้ใชัมักจะนำเพรสเชอร์เกจรุ่นนี้ไปใช้งานกับสารเคมี หรือ ของไหลที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
- การใช้งาน: ใช้กับสารเคมี, อาหารและเครื่องดื่ม
- ข้อดี: ทนการกัดกร่อน
- ข้อเสีย: ราคาแพง
845 บาท / 1,870 บาท
4. เพรสเชอร์เกจ รุ่น GSK63
เพรสเชอร์เกจรุ่นนี้ถอดแบบมาจากรุ่น GS นั่นเอง แต่ความแตกต่างคือเกลียวจะออกด้านหลัง ทำให้สามารถติดปีกเพื่อติดตั้งเข้ากับเครื่องจักรที่มีลักษณะเป็นตู้ได้ นิยมใช้วัดแรงดันไฮดรอลิค
- การใช้งาน: ติดตั้งหน้าตู้, ใช้กับสารเคมี , อาหารและเครื่องดื่ม
- ข้อดี: ติดปีกได้, ทนการกัดกร่อน
- ข้อเสีย: ราคาแพง
1,040 บาท
5. เพรสเชอร์เกจดิจิตอล รุ่น GD1010J
เกจวัดแรงดันดิจิตอล รุ่น GD1010J เป็นเกจวัดที่ค่าแม่นยำ อ่านได้ทันที เพราะแสดงค่าเป็นตัวเลข เหมาะมาก ๆ กับงานที่ใช้ความละเอียดสูง แต่เกจประเภทดิจิตอล Sensitive ต่อสนามแม่เหล็ก จึงควรติดตั้งให้ห่างจากจุดที่มีสนามแม่เหล็ก
- การใช้งาน: วัดแรงดันความละเอียดสูง แม่นยำอ่านค่าทันที ใช้ได้ทั้งแรงดันวัดน้ำ แรงดันลม หรือ แรงดันไฮดรอลิค
- ข้อดี: แม่นยำสูง, เห็นค่าทันที
- ข้อเสีย: หลีกเลี่ยงติดตั้งพื้นที่ที่มีสนามแม่เหล็ก
5,150 บาท
6. เพรสเชอร์เกจ Electric Contact รุ่น 1713
เกจวัดแรงดันแบบ Electric Contact รุ่น 1713 เป็นเกจเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการสัญญาณไฟฟ้าเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมหรืออุปกรณ์แสดงผลอื่น ๆ เช่น หลอดไฟ กล่องควบคุม เพื่อจุดประสงค์ในการ เตือน, เปิด-ปิดการทำงาน เป็นต้น โดยจะมีราคาค่อนข้างสูง
- การใช้งาน: วัดแรงดัน น้ำ ลม ไฮดรอลิค สารเคมีได้และต่อสัญญาณไฟฟ้า
- ข้อดี: ครอบคลุมทุกการใช้งาน มีสัญญาณไฟฟ้า
- ข้อเสีย: ราคาสูง
8,345 บาท
บทส่งท้าย
เป็นอย่างไรบ้างครับกับ 6 อันดับ เกจวัดแรงดัน ที่ผมได้แนะนำ พร้อมกับวิธีในการเลือกเกจวัดแรงดัน แม้ว่าการทำความเข้าใจกับเครื่องมือตัวนี้จะไม่ยาก แต่ก็มีข้อมูลจำเพาะที่เป็นต้องพิจารณาถึง 4 หัวข้อด้วยกัน หากอ่านบทความนี้จนจบผมเชื่อว่าท่านจะสามารถเลือกเพรสเชอร์เกจไปใช้งานได้อย่างแน่นอน และหากใครกำลังลังเลในการเลือกยี่ห้อผมก็ยังขอแนะนำให้เป็น OCTA หรืออยากจะลองยี่ห้ออื่น ก็แล้วแต่ความพึงพอใจของท่านครับ
Pingback: เกจวัดแรงดัน ลม น้ำ แก๊ส น้ำมัน : วิธีเลือกให้เหมาะสม มีรุ่นไหนบ้าง - Siam Pressure แหล่งข้อมูลเรื่อง