จากบทความก่อนหน้านี้หลายท่านถามเข้ามาเยอะมากว่า Pressure Gauge คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง แหม่ถามมาขนาดนี้ onetomany ไม่รีรอ รีบเปิดคอมเข้ามาเขียนบทความนี้ทันที โดยบทความนี้จะอธิบาย ความหมายและวิธีการใช้งาน, ประเภท, การเลือกใช้ ข้อดีข้อเสีย รวมถึงช่วงการวัด ที่เหล่าวิศวกรรวมถึงช่างมืออาชีพนิยมใช้กัน ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกัน!
พื้นฐาน PRESSURE GAUGE คืออะไร ใช้งานอย่างไร?
Pressure Gauge หรือภาษาไทยเรียกว่า “เกจวัดแรงดัน” คือ อุปกรณ์เครื่องมือวัด ที่ใช้สำหรับวัดแรงดันในระบบน้ำและก๊าซ เพื่อควบคุมให้แรงดันเป็นไปตามที่กำหนด โดยการกำหนดแรงดันมีผลต่อผลผลิต ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของงานนั้น ๆ ครับ หากจะให้ยกตัวอย่างการใช้ Pressure Gauge ที่เราพบกันในปัจจุบันก็จะมีดังนี้ครับ
- การวัดแรงดันลมยาง: ทุกคนน่าจะคุ้นเคยมากที่สุด เช่น เติมลมยางจักรยาน, ลมยางมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ นั่นเอง
- การวัดแรงดันในระบบท่อ: ในส่วนนี้จะแยกได้เป็น 2 ระดับ คือภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
- ครัวเรือน: การวัดในระบบประปา, ปั๊มน้ำ
- อุตสาหกรรม: วัดในไลน์ท่อการผลิตเพื่อควบคุมแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
- การวัดแรงดันในถังลม: ถังลมทุกอันจะมี Pressure Gauge ติดตั้งอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่ามีลมอยู่ในถังและเพื่อไม่ให้ผลิตลมเกินแรงดันที่ถังรองรับได้
3 ประเภท PRESSURE GAUGE ที่นิยมใช้
มาพูดถึงเรื่องประเภทกันบ้าง โดย onetomany จะขอแบ่งประเภทของ Pressure Gauge ตามช่วงการวัด เพราะการแบ่งประเภทแบบนี้นิยมมากที่สุดครับ โดยมีประเภทต่าง ๆ ดังนี้
- Normal Pressure Gauge: ช่วงแรงดันทั่วไปเริ่มต้นตั้งแต่ 0 bar ขึ้นไป
- Vacuum Pressure Gauge: ช่วงแรงดันติดลบที่เรียกกันว่าสูญญากาศ หรือ แวคคั่มเกจ นั่นเอง
- Compound Pressure Gauge: ช่วงแรงดันแบบผสม หรือภาษาช่างเรียก “คอมปาวด์เกจ” โดยจะมีแรงดันตั้งแต่ -1 ถึง 1 bar ขึ้นไปครับ
วิธีการเลือกเกจวัดแรงดันให้ตรงใจ
สำหรับวิธีการเลือก Pressure Gauge ให้โดนใจผู้ใช้ ผมมีขั้นตอนแนะนำทุกท่านดังนี้ครับ
- เลือกขนาดหน้าปัด(Dial Size): ขั้นตอนแรกเลือกขนาดก่อนครับ ในตลาดบ้านเรานิยมใช้ขนาด 2.5 นิ้ว และ 4″ แต่ก็จะมี 1.5 นิ้วหลุดมาบ้างแต่อาจจะหายากนิดนึงครับ
- เลือกช่วงการวัดและหน่วยวัด(Pressure Range & Unit): ช่วงการวัดสำคัญมาก ควรเลือก Max Pressure ให้มากกว่า Pressure ที่ใช้จริงประมาณ 30 เปอร์เซนต์ ส่วนหน่วยวัดเลือกตามความสะดวกในการอ่านค่าได้เลยครับ หน่วยแรงดันที่ใช้กันเยอะจะมี bar, psi, kg/cm2 และ Mpa ส่วนในแวคคั่มเกจจะนิยมเป็น mmHg หรือ InHg
- เลือกวัสดุให้เหมาะกับงานที่ใช้(Material): วัสดุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวเรือนและข้อต่อกับบูร์ดอง โดยขออธิบายแยกย่อยตามนี้
- ตัวเรือน(Body): วัสดุตัวเรือนจะมีเหล็กดำและสแตนเลส ใครชอบถูกเลือกเหล็กดำ ใครชอบสวยงามเวลามองเลือกสแตนเลส
- ข้อต่อกับบูร์ดอง(Connection and Bourdon tube): โดยปกติวัสดุของข้อต่อกับบูร์ดองจะเหมือนกัน โดย Pressure Gauge จะมี 2 วัสดุคือ ทองเหลือง(Brass) หรือ สแตนเลส(Stainless) เลือกให้เหมาะสมนะครับ ใช้งานน้ำ, ลม ทั่วไป ใช้ทองเหลืองได้ แต่หากมีการกัดกร่อนให้เลือกสแตนเลส
- เลือกราคาตามงบประมาณ(Price): ส่วนสุดท้ายคือเรื่องราคา ในตลาดมีหลายราคาตั้งแต่หลักสิบไปจนถึงหลักพันก็มี แต่ผมขอแนะนำให้เลือกที่ราคากลาง ๆ และดูรีวิวเพิ่มเติม
ส่วนใครไม่รู้จะเลือกยี่ห้อไหน ผมมีบทความที่รวบรวม Pressure Gauge 10 ยี่ห้อ : 10 Pressure gauge 0 10 bar ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 | ราคาล่าสุด (onetomany-store.com)
ข้อดีและข้อเสียของ PRESSURE GAUGE
ทุกสิ่งย่อมมีข้อดีข้อเสียในตัวมันเองครับ สำหรับ Pressure Gauge เองก็มีเช่นกัน โดยจากที่ผมได้สำรวจมาเกจวัดแบบทั่วไปจะมีข้อที่ต้องพิจารณาดังนี้
- ข้อดี: ราคาถูก ใช้งานง่าย ทนทานสุด ๆ สามารถหาซื้อได้ทั่วไปมีตัวเลือกและยี่ห้อเยอะมาก
- ข้อเสีย: ใช้การอ่านค่าโดยการตีความ ต่างจากดิจิตอลที่แสดงค่าออกมาเป็นตัวเลขทันที ความแม่นยำน้อยกว่าดิจิตอลแลอาจเกิดความคลาดเคลื่อนเพราะอาศัยการตีความจากผู้ใช้งาน
ช่วงการวัดแรงดันยอดนิยม
สำหรับใครที่ยังเลือกช่วงการวัดสำหรับ Pressure Gauge ไม่ได้ ผมมีตัวอย่างการเลือก Range ของผู้ใช้ทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งตามหน่วยแรงดันที่พบบ่อยได้ดังนี้ครับ
- bar: -1 to 0 bar, 0-1 bar, 0-4bar, 0-6bar, 0-10 bar, 0-16 bar, 0-100 bar, 0-600 bar, 0-1000 bar
- psi: 0-140 psi, 0-2250 psi, 0-14000 psi,
- Mpa: 0-1 MPa, 0-10 Mpa, 0-20 Mpa
- mmHg: -760 to 0 mmHg
ช่วงแรงดันข้างต้นคือตัวอย่างที่ผมรวบรวมมาจากลูกค้าที่เคยซื้อเกจวัดเท่านั้น อาจมีช่วงแรงดันอื่น ๆ ที่จำหน่ายกันอยู่เยอะมาก เพราะฉะนั้นเลือกจากแรงดันที่ใช้งาน(Working Pressure) จากนั้นเลือก Range ให้ครอบคลุมก็โอเคครับ
บทสรุป
เป็นยังไงครับ Pressure Gauge ไม่ยากอย่างที่คิดเลย ก็แค่เครื่องมือสำหรับงานช่างตัวนึงที่ไว้ควบคุมแรงดันเพื่อเหตุผลที่แตกต่างกันของผู้ใช้ เพียงเลือกเกจวัดแรงดันให้ตรงตามการใช้งาน พิจารณาข้อดีข้อเสียและเลือกช่วงแรงดันให้ครอบคลุมกับที่ใช้งานจริง คุณก็จะได้เกจวัดนี้ไปใช้งานในหน้างานได้เลยครับผม
อ้างอิง: octagauge.com, radiusglobal.co.th
Pingback: ช่วงความดัน ที่พบในเกจวัดแรงดันมากที่สุด ในปี 2023 – onetomany บล็อครีวิวสินค้าที่นิยมในไทย
Pingback: 10 Pressure gauge 0 10 bar ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 | ราคาล่าสุด
Pingback: ประเภทเกจวัดแรงดัน 5 อันดับ ที่วิศวกรทุกคนควรรู้
Pingback: เจาะลึกหลักการทำงาน Pressure Gauge แบบง่ายสุด ๆ | onetomany
Pingback: 6 อันดับ เกจวัดแรงดัน ยี่ห้อ OCTA ปี 2023 แม่นยำ ราคาถูก
Pingback: 10 อันดับ Pressure Gauge ยี่ห้อไหนดี ปี 2023
Pingback: 10 อันดับ เกจวัดแรงดัน ยี่ห้อไหนดี ปี 2023